วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555
ข้อมูลส่วนตัวของ 'โดราเอมอน"
ตามข้อมูลที่เรามี 'โดราเอมอน' เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของโนบิตะ (เด็กแว่นผู้อ่อนแอ) ในวัยหนุ่ม หลังจากที่ต้องสูญเสียเพื่อนรักจากโลกอนาคตไป เนื่องจาก "แบตเตอรี่หมด" !?!
โนบิตะเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อเขาไม่มีโดราเอมอนอยู่เคียงข้าง เขาทุ่มเทเรียนหนังสืออย่างหนักจนกระทั่งได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ จากนั้น เขาก็ได้คิดค้นสร้างโดราเอมอนขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็คือ 'โดราเอมอน' ตัวเดียวกับที่เดินทางข้ามเครื่องย้อนเวลาหาอดีตกลับเพื่อกลับไปช่วยเหลือโน บิตะในวัยเด็กนั่นเอง
โดราเอมอนจะถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 3 กันยายน ปี 2112 โดยมีน้ำหนักตัวเท่ากับส่วนสูง คือ 129.3 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีน้องสาวสุดแสนน่ารักอีก 1 ตัว ชื่อว่า 'โดราเอมี' และมีแฟนสาวเป็นแมวน้อยชื่อว่า 'มิจัง' (Mi-chan)
เล่ากันว่า เดิมทีเจ้าแมวอ้วนไร้หูผู้เต็มไปด้วยของเล่นวิเศษจากโลกอนาคตนี้ไม่ได้มีสี ฟ้าอย่างที่เราๆ เห็นกันแต่อย่างใด หากแต่สีที่แท้จริงของโดราเอมอนนั้นเป็นสีเหลือง และมันก็เคยมีหูเหมือนแมวตัวอื่นๆ ด้วย แต่เนื่องจากหูของมันถูกหุ่นยนต์หนูตัวแสบแทะกินไปเสียหมด ทำให้มันจมอยู่ในความเศร้าโศกเสียใจ จากนั้น มันก็เลยดื่มเครื่องดื่มวิเศษที่ดูเหมือนว่าจะมีฉลากเขียนเอาว่า 'ความเศร้า' ติดไว้ เลยทำให้มันต้องร้องไห้ออกมาเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งสีเหลืองที่ทาตัวของมันถูกชะล้างออกไปหมด ก่อนที่จะกลายเป็นแมวสีฟ้าแทน
สำหรับอาหารสุดโปรดของโดราเอมอนก็คือ 'โดรายากิ' หรือที่เราเรียกกันว่า 'ขนมแป้งทอด' นั่นเอง ส่วนสิ่งที่เจ้าแมวอ้วนแห่งโลกในศตวรรษที่ 22 เกลียดกลัวและขยะแขยงมากที่สุดก็ไม่ใช่อะไรที่ไหน หากแต่เป็น 'หนู' สัตว์ที่ฝากความหลังฝังใจอันไม่อาจจะลืมเลือนเอาไว้ให้แก่มัน
ทีมา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7a032e4e62f8d034
ที่มาของทางม้าลาย
สัญลักษณ์ของทางลายขาว-ดำ ที่มีไว้สำหรับให้คนข้ามถนน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า 'ทางม้าลาย' นั้นแท้จริงแล้วในตอนแรกหาได้เป็นสีขาวกับสีดำอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันไม่
เดิมทีแถบสีสัญลักษณ์ของทางคนข้ามนี้เคยเป็นสีน้ำเงินและสีเหลืองมาก่อน โดยมีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก (หลังทำการทอดลองใช้แล้ว) ตามท้องถนนของประเทศอังกฤษราว 1,000 จุด เมื่อปี 1949 เพื่อบ่งบอกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นทางที่อนุญาตให้คนสามารถข้ามถนนได้
แต่ก่อนนั้น สัญลักษณ์ของทางข้ามนี้จะอยู่คู่กับ 'เสาโคมไฟสัญญาณบีลิสชา' ซึ่งถือกำเนิดมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ปี 1934 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสัญญาณให้พาหนะที่สัญจรอยู่บนท้องถนนหยุดวิ่งชั่วขณะเพื่อให้คนที่อยู่สองข้างทางได้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยพาหนะต่างๆ จะหยุดก็ต่อเมื่อโคมไฟสัญญาณบีลิสชาซึ่งมีสีส้มส่องสว่างขึ้น
ต่อมา เลสลี ฮอร์น บีลิสชา รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแดนผู้ดี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มไอเดียนำโคมไฟสัญญาณดังกล่าวมาติดตั้งก็คิดว่าน่าจะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ที่เป็นแถบสีบนพื้นถนนบริเวณที่มีการติดตั้งโคมไฟสัญญาณเพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นได้เด่นชัดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ สัญลักษณ์ของทางข้ามที่มีแถบสีจึงถือกำเนิดขึ้น
จากนั้นก็มีการทดลองใช้สีขาว-แดง และสีขาว-ดำ ทาเป็นสัญลักษณ์ แล้วในปี 1951 สัญลักษณ์ของทางข้ามที่เป็นแถบสีขาว-ดำก็ถูกนำมาใช้คู่กับโคมไฟสัญญาณบีลิสชาอย่างเป็นทางการครั้งแรก พร้อมกับได้รับการขนานนามว่า 'ทางม้าลาย' เนื่องจากมีลักษณะเหมือนลายของม้าลายนั่นเอง
ต่อมาอังกฤษได้นำไอเดียดังกล่าวไปใช้กับประเทศอาณานิคมของตัวเอง เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ทางม้าลายจึงกลายเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก และกลายเป็นเครื่องหมายจราจรที่เป็นสากลไปโดยปริยาย
ที่มา : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000070451&TabID=1&
เว็บไซต์แรกของโลก
ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรของนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลี วูดส์ ซึ่งทั้งสองคนนี้เป็นนักคณิตศาสตร์ ผู้อยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" คอมพิวเตอร์ยุคแรกของโลก
ระหว่างเดือนมิถุนายน – ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นช่วงที่ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้ทำงานเป็น Freeland อยู่ที่เซิร์น (Cern) ได้เสนอโครงการ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) ขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน และมีการเริ่มสร้างระบบต้นแบบไว้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า ENQUIRE
“ เมื่อถึง พ.ศ. 2532 เซิร์นได้กลายเป็นศูนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเบอร์เนิร์ส-ลีได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต เบอร์เนิร์ส-ลีเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เชื่อมต่อเข้ากับความคิด "ทีซีพี" และ "DNS" และเท่านั้นก็จะได้ "เวิลด์ไวด์เว็บ.." เบอร์เนิร์ส-ลีร่างข้อเสนอของเขาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2533 ด้วยความช่วยเหลือของโรเบิร์ต ไคลิยู ช่วยปรับร่างโครงการให้ ไมค์ เซนดอลล์ผู้จัดการของเบอร์เนิร์ส-ลีจึงรับข้อเสนอของเขา ในข้อเสนอนี้ เบอร์เนิร์ส-ลีได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเขาได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัวแรก (เรียกว่าWorldWideWeb และพัฒนาด้วย NEXTSTEP)และเว็บเซิร์บเวอร์ขึ้น เรียกว่า httpd (ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon)
เว็บไซต์ แรกสุดสร้างขึ้นที่เซิร์น นำขึ้นออนไลน์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ให้คำอธิบายว่าเวิลด์ไวด์เว็บคืออะไร การที่จะเป็นเจ้าของเบราว์เซอร์ทำได้อย่างไรและจะติดตั้งเว็บเซิร์บเวอร์ได้ อย่างไร นอกจากนี้ยังนับเป็นเว็บไดเร็กทอรี่อันแรกของโลกด้วยเนื่องจากเบอร์เนิร์ส -ลีดูแลรายชื่อของเว็บไซต์อื่นๆ ทั้งหมด นอกจากของตนเองด้วย
เบอร์เนิร์ส-ลีเปิดเผยให้ความคิดแก่ทุกคนและทุกองค์กร โดยไม่คิดมูลค่า เขาไม่เคยจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นคิดของเขาเลย รวมทั้งไม่เรียกค่าตอบแทนหรือรางวัลอื่นใดจากใคร นอกจากเงินเดือนปกติ ดังนั้น กลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บจึงตัดสินใจไม่คิดมูลค่าใดๆ จากการนำมาตรฐานของกลุ่มบริษัทไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายยอมรับมาตรฐานเดียวกันได้บนพื้นฐานทาง เทคโนโลยี ไม่ใช่พื้นฐานค่าสิขสิทธิ์ถูกหรือแพง” (ที่มา : th.wikipedia.org)
ในพ.ศ. 2548 ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้รับยกย่องจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลของศตวรรตที่ 20 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2550 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้าจากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซา เบท เป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งคนที่ได้รับและยังมีชีวิตอยู่มีเพียง 24 คนเท่านั้น
เมื่อวันที่ 06 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมาได้ครบรอบ 16 ปีพอดี ของการกำเนิดเว็บไซต์http://info.cern.ch และในปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้อยู่ โดยภายในเว็บจะแสดงเนื้อหาบอกเล่าความเป็นมาของการเกิดเว็บไซต์แห่งแรกของโลกขึ้น
แสตมป์ดวงแรกของโลก
ปี พ.ศ.2379 นายโรว์แลนด์ ฮิลล์ ( Rowland Hill ) ชาวอังกฤษ ได้เสนอวิธีคิดค่าธรรมเนียมในการฝากส่งใหม่ โดยให้ถือน้ำหนักเป็นเกณฑ์ และกำหนดให้มีมาตรฐานต่อจดหมาย 1 ฉบับ ต่อ 1 เพนนี นอกจากนี้ได้เสนอให้มีการจัดพิมพ์ตราไปรษณียากร หรือแสตมป์ ( Postage Stamp ) สำหรับให้ผู้ใช้บริการซื้อไว้เพื่อปิดผนึกบนห่อซองจดหมาย ณ บริเวณมุมบนด้านขวามือ เพื่อแสดงให้ทราบว่าจดหมายฉบับนั้นได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ข้อเสนอ ของนายโรว์แลนด์ ฮิลล์ ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลอังกฤษ ประเทศอังกฤษจึงเป็นประเทศแรกที่ได้ปฏิรูปการไปรษณีย์เสียใหม่ โดยให้ผู้ฝากส่งเป็นผู้ชำระค่าจดหมายล่วงหน้า และแสตมป์ดวงแรกก็ได้อุบัติขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2383 แสตมป์ ชนิดราคา 1 เพนนีสีดำ มีพระบรมฉายาลักษณ์ผินพระพักตร์ข้างของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย กษัตริย์อังกฤษในสมัยนั้น นักสะสมจึงเรียกกันทั่วไปว่า ชุด "เพนนีแบล็ค" ( PENNY BLACK ) แสตมป์ชุดแรกของโลกมีข้อสังเกตได้ว่าแตกต่างจากแสตมป์ชุดอื่นๆ 3 ประการ คือ ไม่มีชื่อประเทศ ไม่มีกาวด้านหลัง และไม่มีฟันแสตมป์ ด้วยจำนวนดวงในแผ่นมีทั้งสิ้น 240 ดวง เมื่อจะใช้ต้องใช้กรรไกรตัดออกมา ทำให้แสตมป์มีขอบเรียบทั้ง 4 ด้านสำหรับนายโรว์แลนด์ ฮิลล์ ผู้ทำความดีแก่การไปรษณีย์อังกฤษอย่างเอนกอนันต์ ภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายโรว์แลนด์ ฮิลล์ ให้เป็นขุนนางชั้นบาธ ( BATH ) ตำแหน่ง เซอร์ โรว์แลนด์ ฮิลล์ ( Sir Rowland Hill )
ที่มา : http://plang2u.exteen.com/20091210/entry
รถจักรยานคันแรกของโลก
ในปี 1886 คาร์ล เบนซ์ ได้ พัฒนายนตรกรรมคันแรกของโลกที่ผลิตภายใต้แนวคิดแบบองค์รวม โดยมีการนำตัวยานพาหนะ และเครื่องยนต์มาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างระบบเครื่องจักรกลอันมี ประสิทธิภาพที่น่าทึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก หมายเลขสิทธิบัตรของยนตรกรรมคันนี้ คือ DRP no. 37435 ที่ออกให้โดยสำนักงาน Imperial Patent Office เมื่อวันที่ 29 มกราคม ปี 1886 น้ำหนักโดยรวมของรถอยู่ที่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัม เฉพาะเครื่องยนต์อย่างเดียวก็หนักเกินกว่า 100 กิโลกรัม จึงทำให้ยนตรกรรมจากเบนซ์คันนี้มีน้ำหนักเบาเป็นอย่างมาก ระบบขับเคลื่อนก็มีความทันสมัยอย่างยิ่งในขณะนั้น ด้วยห้องเผาไหม้เชื้อเพลิงภายในของเครื่องยนต์เป็นแบบสูบเดียว 4 จังหวะที่ติดตั้งในแนวนอนช่วยสร้างศักยภาพในการระบายความร้อนตามแบบ Thermosyphon และระบบการหล่อหลื่นแบบ drip lubrication
โครงสร้างของตัวถังทำจากเหล็กที่ตัด เชื่อมให้โค้งงอเข้ารูป และด้วยเหตุที่เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังในกรณีเช่นที่ต้องเข็นรถจาก ทางด้านหลัง Karl Benz เกรงว่าจะเกิดปัญหาให้กับระบบพวงมาลัยซึ่งมีระบบที่แตกต่างไปจากยานพาหนะที่ ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เขาจึงตัดสินใจให้รถยนต์คันแรกของมีเพียงสามล้อเท่านั้น โดยที่ล้อหน้าติดตั้งในลักษณะเหมือนกับล้อรถจักรยานและควบคุมการเคลื่อนที่ ด้วยแรงดึงจากเฟืองซึ่งเชื่อมต่อกับข้อเหวี่ยง(ป็นการใช้งานในขั้นตอนแรก เริ่มก่อนที่ Benz จะประดิษฐ์ระบบพวงมาลัยแบบ SdoubleOpivot ซึ่งเป็นต้นแบบที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งยิ่งต่อวงการยานยนต์ของโลกในปี 1893)
Benz ได้ผลิตล้อแบบซี่ลวดและยางตันด้วยตัวของเขาเองมีเพียงขอบล้อเท่านั้นที่เป็น แบบ outsourced ล้อหน้าทำงานด้วยลูกปืนล้อส่วนล้อหลังงมีปลอกทำด้วยดีบุกหุ้มป้องกันการ เสียดสี ขับเคลื่อนด้วยโซ่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขับเคลื่อนเพลาถ่วงดุลน้ำหนักเบาที่ ล้อหลังซึ่งจะส่งผลต่อตัวรถเช่นเดียวกับเพลาหลังแบบแข็งและสปริงรูปไข่
รถ ยนต็คันแรกของโลกมีเพียงเกียร์เดียวและไม่มีเกียร์ถอยหลัง ความเร็วที่ใช้ในการขับเคลื่อนได้มาจากเพลาถ่วงดุลย์ที่ประกอบด้วยจานขับตัว หลักและเฟืองขับพร้อมทั้งตัวควบคุมรอบเดินเบา ลิ้นเปิดปิดควบคุมการทำงานระหว่างเครื่องยนต์กับเพลาถ่วงดุลย์ทำหน้าที่เช่น เดียวกับคลัทช์ การสตาร์ทเครื่องยนต์ทำโดยหมุนสายพานที่อยู่ระหว่างจานที่ควบคุมรอบเดินเบา กับจานขับหลัก ความเร็วที่ใช้ขึ้นอยู่กับการควบคุมของปลอกลูกเลื่อนที่อยู่ใต้เบาะที่นั่ง คนขับ
รถ คันที่โชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ เมอร์เซเดส- เบนซ์ ณ เมืองสตุ๊ตต์การ์ตขณะนี้นั้นเป็นแบบจำลองจากของจริงที่ คาร์ล เบนซ์ผลิต เพราะเขาได้อุทิศให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในเมืองมิวนิค เมื่อปี 1906
Benz ได้ผลิตล้อแบบซี่ลวดและยางตันด้วยตัวของเขาเองมีเพียงขอบล้อเท่านั้นที่เป็น แบบ outsourced ล้อหน้าทำงานด้วยลูกปืนล้อส่วนล้อหลังงมีปลอกทำด้วยดีบุกหุ้มป้องกันการ เสียดสี ขับเคลื่อนด้วยโซ่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาขับเคลื่อนเพลาถ่วงดุลน้ำหนักเบาที่ ล้อหลังซึ่งจะส่งผลต่อตัวรถเช่นเดียวกับเพลาหลังแบบแข็งและสปริงรูปไข่
รถ ยนต็คันแรกของโลกมีเพียงเกียร์เดียวและไม่มีเกียร์ถอยหลัง ความเร็วที่ใช้ในการขับเคลื่อนได้มาจากเพลาถ่วงดุลย์ที่ประกอบด้วยจานขับตัว หลักและเฟืองขับพร้อมทั้งตัวควบคุมรอบเดินเบา ลิ้นเปิดปิดควบคุมการทำงานระหว่างเครื่องยนต์กับเพลาถ่วงดุลย์ทำหน้าที่เช่น เดียวกับคลัทช์ การสตาร์ทเครื่องยนต์ทำโดยหมุนสายพานที่อยู่ระหว่างจานที่ควบคุมรอบเดินเบา กับจานขับหลัก ความเร็วที่ใช้ขึ้นอยู่กับการควบคุมของปลอกลูกเลื่อนที่อยู่ใต้เบาะที่นั่ง คนขับ
รถ คันที่โชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ เมอร์เซเดส- เบนซ์ ณ เมืองสตุ๊ตต์การ์ตขณะนี้นั้นเป็นแบบจำลองจากของจริงที่ คาร์ล เบนซ์ผลิต เพราะเขาได้อุทิศให้กับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในเมืองมิวนิค เมื่อปี 1906
ทำไมม้าต้องยืนหลับ
ม้ายืนหลับได้เช่นเดียวกับวัวและแกะ บรรพบุรุษของมันคือม้าป่า อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่จึงถูกจู่โจมจากสัตว์ป่าที่ดุร้านเสมอ ม้าป่าไม่มีอาวุธป้องกันตัวเหมือนสัตว์บางประเภท แต่อวัยวะในการรับรู้ของม้าเจริญพัฒนาไปมาก คือ ม้ามีตาโตและอยู่ในตำแหน่งสูง บวกกับคอที่ค่อนข้างยาว ทำให้มองเห็นได้ไกลแม้ว่าก้มลงกินหญ้าก็ยังรู้สึกถึงภัยรอบตัวได้ มันจึงต้องระแวดระวังตลอดเวลา แค่เพียงลมพัดต้นหญ้ามันก็วิ่งหนีไปได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้มันจึงสืบทอดนิสัยยืนหลับมาจากบรรพบุรุษ ระบบประสาทของม้าพัฒนาไปมาก มีสัญชาติญาณ ความจำและการตัดสินใจที่ยอดเยี่ยม การรับรู้ทิศทางก็ดีมาก มันจึงหาทางกลับบ้านได้ และเพราะมีความจำและการรับรู้ทางสายตาที่ดี หากได้พบสถานที่หรือสิ่งที่เคยทำให้มันกลัวอีกเป็นครั้งที่สอง มันก็จะหวาดกลัวไม่กล้าเข้าใกล้อีก ในทุกๆวัน ม้าต้องเดินเป็นระยะทางไกล กล้ามเนื้อใต้กีบเท้าของม้าจึงถูกทำลายได้ง่าย ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อการเดิน คนจึงใส่เหล็กเกือกม้าเพื่อป้องกันกีบม้าไว้
รูปสลักหินขนาดยักษ์
ถึงแม้ว่าจะไม่มีรู้ที่มาของชาวพื้นเมืองบนเกาะ แต่ชาวพื้นเมืองก็ได้สร้างรูปสลักยักษ์ขึ้น ซึ่งสร้างจากหินและกากแร่ภูเขาไฟหรือหินบะซอลต์ ซึ่งรูปสลักในยุกแรกจะเป็นรูปสลักคนนั่งคุกเข่าในช่วงประมาณ ค.ศ.380 ในยุคถัดมาเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 จะสลักเป็นรูปที่เรียกว่า โมอาอิ หรือ โมอาย (moai)ซึ่งเป็นที่โดดเด่นทั่วไปบนเกาะ
ชาว พื้นเมืองของเกาะนี้ มีอารยธรรมและภาษาเป็นของตนเอง ( ราปานุย ) พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวโปลิเนเชี่ยน และดำรงชีพแบบง่ายๆ ตั้งแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังมีประชากรอยู่เพียงหยิบมือ เรียกได้ว่า แทบไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ตรงนี้แหละ ที่ทำให้ใครต่อใครสงสัยกัน ท่านที่เห็นรูปของโมอายคงจะแปลกใจกันนะ ว่าดีไซน์ รูปร่างใหญ่โต และน้ำหนักขนาดนั้น ลำพังชาวเกาะอีสเตอร์ จะเอาเครื่องไม้เครื่องมือที่ไหนมาสลัก แล้วลากลงมาจากภูเขาไปตั้งทิ้งไว้ที่ชายหาดได้ มีนักวิชาการหลายท่านครับ ที่พยายามอธิบายถึงวิธีการสร้างโมอายเหล่านี้ หลายคนถึงกับลงมือสาธิตด้วยตนเอง ถึงกระนั้นหลายๆคนก็ยังปักใจเชื่ออยู่ดีว่า เจ้ารูปสลักหินนี่ ต้องมี " อะไรๆ " เกี่ยวพันกับอารยธรรมนอกโลกอยู่
นัก วิชาการหลายคน ถึงกับลงมือขุดค้นเข้าไปในตำนานของชาวเกาะ เพื่อจะหาที่ไปที่มาของโมอาย แต่ก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องราวะไรนัก พอถามชาวเกาะที่มีอายุ และมีความทรงจำเกี่ยวกับความเป็นมาของเกาะดู ก็ได้รับคำตอบอย่างเป็นที่น่าพอใจว่า " มันเดินกันลงมาเอง "
รูปสลักใหญ่โตขนาดนี้ ใครล่ะจะเชื่อว่าชาวเกาะโบราณ จะใช้แรงงานของพวกเขาขนย้าย ด้วยการลากลงมาเอง อย่าว่าแต่ลากเลย แค่วิธีแกะสลัก ก็ลำบากมากแล้ว ขนาดเราเองยังนึกไม่ออกเลยว่า ชาวโพลิเนเชี่ยนเหล่านี้ เค้าเอาอะไรมาสลักหินภูเขาไฟก้อนเบ้อเริ่ม ให้ออกมาเป็นศิลปกรรมหน้าตาประหลาดแบบนี้ได้ ลิ่มหรือ หรือว่าขวานหิน ?
อีกอย่าง ดีไซน์ของเจ้าโมอาย ดูแปลกและแตกต่างไปจากศิลปกรรม, สิ่ง สักการะทางศาสนา และ วัฒนธรรมของโปลิเนเซี่ยนโดยสิ้นเชิง บนเกาะอีสเตอร์ยังเหลือโมอายที่ทำไม่เสร็จ ทิ้งไว้ตามชายหาดอยู่จำนวนมาก เหมือนกับว่าคนสร้างได้รีบทิ้งถิ่นพำนักแล้วจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วนซะอย่างนั้น นอกจากนี้บนเกาะอีสเตอร์ยังมีตำนานเก่าแก่เป็นตำนานของมนุษย์ปักษี ( Birdman ) ที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชนที่รอดตายจากทวีปมู เล่าขานต่อๆกันมา
ต่างคนก็ต่างใจ นักวิชาการบางคนเริ่มเอนเอียงที่จะเชื่อว่า อารยธรรมบนเกาะอีสเตอร์ มีส่วนเกี่ยวพันกับเอเลี่ยนนอกโลก ในขณะที่บางคนก็พะอืดพะอมที่จะรับฟัง และพยายามหาเหตุผลที่ฟังขึ้นกว่านี้มาอธิบาย
อย่าง ไรก็ตาม คงต้องยอมรับแหละว่า รูปสลักบนเกาะอีสเตอร์นี้พิสดารอย่างหาที่เหมือนไม่ได้จริงๆ แถมยังมีการนำมาตั้งเรียงรายบนชายหาดในลักษณะของรันเวย์ซะอย่างนั้น คนที่เชื่อเรื่องมนุษย์ต่างดาวก็เชื่อไปเถอะ ส่วนคนที่ไม่เชื่อก็ยกให้เป็นเครดิตของบรรพบุรุษเราดีกว่า ภูมิปัญญาของคนโบราณไง …
ที่มา : http://creatures.igetweb.com/index.php?mo=3&art=165185
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (อังกฤษ: Bermuda Triangle) หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมปีศาจ เป็นพื้นที่สมมุติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว วัฒนธรรมสมัยนิยมได้ให้เหตุผลของการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตนอกโลก หลักฐานซึ่งบันทึกไว้ได้ระบุว่า เหตุการณ์การหายสาบสูญของอากาศยานและเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ได้รับรายงานอย่างไม่ถูกต้องหรือถูกเสริมแต่งโดยนักประพันธ์ในช่วงหลัง และหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้กล่าววว่า จำนวนและธรรมชาติของการหายสาบสูญไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการหายสาบสูญไปในมหาสมุทรส่วนอื่น ๆ ของโลก
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีเนื้อที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ระหว่างจุด 3 จุด ได้แก่ เปอร์โตริโก ปลายสุดของรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และเกาะเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นเกาะตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกและดินแดนในปกครองของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ครอบคลุมช่องแคบฟลอริดา หมู่เกาะบาฮามาส และหมู่เกาะแคริบเบียนทั้งหมด แต่แนวคิดที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า เนื่องจากปรากฏในงานเขียนจำนวนมาก ระบุว่า จุดปลายสุดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้แก่ ชายฝั่งแอตแลนติกของไมอามี, ซานฮวน เปอร์โตริโก, และเกาะเบอร์มิวดา ด้วยเหตุว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งด้านใต้โดยรอบหมู่เกาะบาฮามาสและช่องแคบฟลอริดาพื้นที่
พื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีเรือผ่านพื้นที่นี้เป็นประจำทุกวันมุ่งหน้าไปยังเมืองท่าในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และหมู่เกาะแคริบเบียน เรือสำราญที่ผ่านพื้นที่นี้ก็มีมากเช่นกัน เรือเที่ยวเองก็มักจะมุ่งหน้าไปและกลับระหว่างฟลอริดากับแคริบเบียนอยู่เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรทางอากาศอย่างหนาแน่น ทั้งอากาศยานพาณิชย์และส่วนตัว ซึ่งมุ่งหน้าไปยังฟลอริดา แคริบเบียน และทวีปอเมริกาใต้
การกล่าวอ้างถึงการหายสาบสูญอย่างผิดปกติในพื้นที่เบอร์มิวดาปรากฏในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1950 ในบทความของแอสโซซิเอด เพลส โดยเอ็ดเวิร์ด ฟาน วินเคิล โจนส์ อีกสองปีต่อมา นิตยสารเฟท ได้ตีพิมพ์ "ความลึกลับที่ประตูหลังของเรา" บทความสั้นโดย จอร์จ แอกซ์. แซนด์ ซึ่งครอบคลุมเครื่องบินและเรือจำนวนมากที่หายสาบสูญไป รวมไปถึงการหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ฝูงบินกองทัพเรือสหรัฐซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดทีบีเอ็ม อแวงเกอร์ห้าลำ ซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกบิน บทความของแซนด์ได้เป็นงานเขียนแรก ๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นแนวคิดอันเป็นที่รู้จักกันดีของพื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา อันเป็นสถานที่ที่เกิดการหายสาบสูญอย่างหาสาเหตุไม่ได้ การหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ได้ปรากฏในนิตยสารอเมริกันลีเจียน ฉบับประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1962 โดยกล่าวอ้างว่าผผู้บังคับฝูงบินได้กล่าวว่า "เรากำลังเข้าสู่เขตน้ำขาว ไม่มีอะไรดูปกติเลย เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน น้ำทะเลเป็นสีเขียว ไม่ใช่สีขาว" นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสืบสวนของกองทัพเรือยังได้ระบุว่าเครื่องบินทั้งหมดได้ "บินสู่ดาวอังคาร" บทความของแซนด์เป็นงานเขียนชิ้นแรกซึ่งเสนอว่ามีปัจจัยเหนือธรรมชาติที่มีผลต่อเหตุการณ์หายสาบสูญของฝูงบิน 19 ในนิตยสารอาร์กอสซี ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 บทความของวินเซนต์ เอช. แกดดิส "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาร้ายกาจ" ซึ่งโต้แย้งว่าฝูงบิน 19 และการหายสาบสูญไปอื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของเหตุการณ์ประหลาด ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ในปีต่อมา แกดดิสได้ขยายบทความของเขาไปเป็นหนังสือ ชื่อว่า อินวิสซิเบิลฮอริซอนส์ (ขอบฟ้าที่มองไม่เห็น)
ถัดมาในปี ค.ศ. 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า "Limbo of the Lost" ถัดจากนั้น ก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งก็มียอดจำหน่ายดีแทบทุกเล่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า "The Devil's Triangle" ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นเนื้อหาสำหรับเป็นคนที่ชื่นชอบความลึกลับเกี่ยวกับสามเหลี่ยเบอร์มิวดาเป็นอันมาก เป็นที่น่าสังเกตคือ หนังสือแทบทุกเล่มมุ่งประเด็นไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้ มาจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น เช่นมาจากมนุษย์ต่างดาว หรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างก็หาหลักฐานและทฤษฎีมาถกเถียงกันและบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีอาณาบริเวณที่กว้างมากจาก ฟลอริด้า-เปอร์โต ริโก-เกาะเบอร์มิวดา กินพื้นที่ประมาณ ห้าแสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการจะค้นหาอะไรๆจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีองค์กรของรัฐ เอกชน ต่างให้ความสนใจในการสำรวจ โดยหวังว่าจะเจอหลักฐานอะไรก็ตามที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนบริเวณนี้ได้
จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2553 โจเซฟ โมนาแกน ได้เสนอว่า สาเหตุที่เรือจมและเครื่องบินตก เกิดจากแก๊สมีเทนที่ก่อตัวขึ้น โดยแก๊สดังกล่าวอยู่ใต้ท้องทะเลในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา โดยเมื่อแก๊สเหล่านี้ขึ้นสู่พื้นผิว มันจะทะยานสู่อากาศ และขยายตัวเป็นวงกว้างและก่อตัวเป็นฟองแก๊สขนาดใหญ่ เมื่อเรือลำใดผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น ก็จะเข้าไปสู่ฟองแก๊สมีเทนขนาดยักษ์ จนทำให้เรือเหล่านี้สูญเสียการควบคุม และจมลงในที่สุด
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/
นกพิราบสื่อสารหาทางกลับบ้านได้อย่างไร...
เหตุที่นกพิราบหาทางกลับบ้านจากที่ไกลๆได้นั้น เพราะมันมีประสาทสัมผัสในการแยกแยะทิศทางอยู่มากมาย นกพิราบมีเหล็กออกไซด์ในเซลล์ประมาทที่จะงอยปาก สามารถสนองตอบต่อสนามแม่เหล็กได้ มันจึงมีประสาทสัมผัสที่รับรู้ถึงพลังแม่เหล็กได้เหมือนเข็มทิศ
สิ่งนี้ทำให้นกพิราบเหมือนกับนกประเภทอื่นรวมถึงเต่าทะเลที่สามารถใช้สนามแม่เหล็กของโลกในการนำทาง
หากท้องฟ้าแจ่มใส นกพิราบจะใช้แสงอาทิตย์นำทาง หากท้องฟ้ามืดครึ้มหรือเป็นเวลากลางคืนก็ใช้สนามแม่เหล็กของโลกนำทาง นอกจากนี้นกพิราบยังมีจมูกที่ไวต่อกลิ่น ดังนั้นมันจึงใช้กลิ่นในการหาทางกลับได้อีกด้วย นกพิราบมักอยู่ด้วยกันเป็นคู่เสมอ หากจับคู่กันแล้วก็จะไม่เปลี่ยนคู่ไปตลอดชีวิต หากคู่ของมันตายไป อีกฝ่ายก็จะใช้คอของตนเองลูบไล้ไปที่ร่างคู่ของมัน เพื่อแสดงความโสกเศร้าและอาลัยอาวรณ์นั้นต้องมีหัวใหญ่ ลูกตาสุกใส ลูกตาดำ ตอบสนองฉับไว บ่ากว้าง หน้าอกแบนราบ ปีกกว้างและแข็งแรง ขาสั้นแต่เล็บคม น้ำหนักไม่เกิน 450 กรัม
ความรู้รอบตัว
ทราบหรือไม่ว่า ทำไมคนเราเวลานอนหลับถึงฝันได้...
นักจิตวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 19 หรือ 80-90 ปีที่ผ่านมา
ได้ศึกษาเรื่องความฝันอย่างจริงจัง เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิต ไม่ใช่ลางบอกเหตุในอนาคต กลับจะเป็นตัวบ่งชี้ความนึกคิดก่อนฝันเสียด้วยซ้ำ อย่างทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาชาวยิวที่ไปอยู่เยอรมัน แล้วเสียชีวิตที่ออสเตรเลีย ถือเป็นนักจิตวิทยาที่โด่งดังคนหนึ่งของโลก กล่าวไว้ว่า ความฝันเกิดจากจิตใต้สำนึกของคนเรา ซึ่งเป็นแรงผลักดันจาก Id หรือ อิด ซึ่งหมายถึงสัญชาตญาณที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่วนจิตใต้สำนึกคือความคิด ความรู้สึกที่เราไม่รู้ พูดง่าย ๆ อีกได้ว่าความคิดความรู้สึกที่ไม่รู้คือจิตใต้สำนึก ส่วนที่รู้ก็ไม่เรียกจิตใต้สำนึก ยกตัวอย่างเช่น ช่วงที่เราตื่นอยู่เราไม่ได้คิดถึงฐานะความเป็นอยู่ แต่กลับฝันว่ามีเงินทองร่ำรวยและมีความสุขมาก นั่นแสดงว่าความรู้สึกลึก ๆ ของเราอยากรวยนั่นเอง
ฟรอยด์ กล่าวด้วยว่า
นอกจากนี้ความฝันอาจเกิดจากความต้องการที่ไม่ได้รับการสนองตอบ ทำให้เกิดความคับข้องใจหรือเก็บกด จึงระบายออกมาเป็นความฝัน เช่น ตั้งใจว่าอยากไปดูฟุตบอลยุโรปทัวร์นาเม้นต์ต่าง ๆ ในสนามจริง ๆ ถึงช่วงฮอต ๆ เช่น บอลโลก บอลยูโร ก็เกิดความอยากอยู่เรื่อย เลยเก็บเอาไปฝัน กรณีนี้รวมไปถึงการหลงไหลได้ปลื้มใครสักคน โดยอาจจะนำไปฝันถึงสาวที่ปิ๊งอยู่ก็ได้ ส่วนการทำนายฝันตามตำราน่าจะเป็นศาสตร์คล้าย ๆ กับการทำนายดวงหรือหมอดู
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
5.2.4 เว็บ 1.0 และเว็บ 2.0
เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียวไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และมีรูปแบบการใช้งานไม่หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดหลายประกาย เช่น ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ อีกทั้งจำนวนผู้สร้างเว็บมีอยู่เป็นจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าถึงเว็บเพื่อบริโภคข้อมูลและสารสนเทศ
ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้การบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ ความคิดเห็น การจัดอันดับ ด้วยความแตกต่างที่พบได้เหล่านี้ จึงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (Web 2.0)
ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างจากในเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซต์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์ มีการแบ่งปันข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพิ่มมากขึ้น
เว็บ1.0 ผู้ใช้ทำได้เพียงแค่อ่าน และเข้าชมเนื้อหาในเว็บไซต์ได้เพียงอย่างเดียว
เว็บ2.0 ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆที่ปรากฏบนเว็บเพจ
เว็บ3.0 ผู้ใช้จะระบุความต้องการในการค้นหาข้อมูลแล้วเว็บเชิงความหมายจะร่วมกันประมวลผลเพื่อเสนอผลลัพธ์เป็น ทางเลือกให้กับผู้ใช้
5.2.3 การค้นหาผ่านเว็บ
- โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ซเอนจิน (SEARCH ENGINES)ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword) เพื่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว
โปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดิทัศน์ เสียง ข่าว แผนที่ หรือบล็อก โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกมอาจใช้วิธีที่ต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคำหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยุ่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista, Bing, Excite, Google และ Yahoo ดังรูปที่ 5.11
ดังรูปที่ 5.11 ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา
- ตัวดำเนินการในการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดำเนินการในการค้นหา (search engine operators) ประกอบกับคำหลัก จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างตัวดำเนินการในการค้นหา แสดงดังตารางที่ 5.2
หมายเหตุ : ตัวดำเนินการบางตัวอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกันในโปรเเกรมการค้นหาที่ต่างกัน
5.2.2 ที่อยู่เว็บ
รูปที่ 5.9 ยูอาร์เเอล
ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator: URL) ดังรูปที่ 5.9 ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
- โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพี และเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ
- ชื่อโดเมน ใช้สำหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ชื่อโดเมน www.ipst.ac.th
- เส้นทางเข้าถึงไฟล์ (path) ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
- ชื่อข้อมูล ชื่อไฟล์ที่ร้องขอ เช่น ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์เสียงในกรณีที่ยูอาร์แอลระบุเฉพาะชื่อโดเมนโดยไม่ได้ระบุเส้นทางเข้าถึงไฟล์ และ/หรือชื่อไฟล์เป็นการเข้าถึงชื่อไฟล์ที่กำหนดไว้ เช่น index.html , main.php และ default.asp ดังรูปที่ 5.10
รูปที่ 5.10 ตัวอย่างโฮมเพจ
5.2.1 การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ (Wab browser)
เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) หรือเรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link) เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน้ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safari, Google Chrome และ Opera ดังรูปที่ 5.8
รูปที่ 5.8 ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์
5.2 เวิลด์ไวด์เว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่าเอชทีทีพี (Hypertext Transfer Protocol : HTTP) นอกจากนี้เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม ได้นิยามคำว่าเว็บคือ จักรวาลของสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย และทำให้เกิดองค์ความรู้แก่มนุษย์ชาติ สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ เช่น
- เว็บเพจ (Web page) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language : HTML) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นได้ โดยเรียกดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์
- เว็บไซต์ (Web site) เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน
- เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator : URL) ระบุตำแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้
รูปที่ 5.7 เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)